ซื้อ E-BOOK

Thumbnail Seller Link
การสำเร็จความโง่ด้วยตนเอง
ธัชชัย ธัญญาวัลย
www.mebmarket.com
คุณจะสำรวจลึกลงไปในสิ่งต่าง ๆ ผ่านตัวหนังสือ ผ่านถ้อยคำ ที่กรองประกอบขึ้นเป็นหนังสือเล่มนี้ “การสำเร็จความโง่ด้วยตนเอง” กวีนิพนธ์เชิ...
Get it now

หนังสือเล่มแรกที่ทำและส่งประกวดซีไรต์


เรื่องนี้ข้าพเจ้าไม่เคยเล่าไว้ที่ไหนมาก่อน
เพราะกระดากและอับอายเป็นที่ยิ่ง
วันนี้ถือว่าเป็น  #การสำเร็จความโง่ด้วยตนเอง  ของข้าพเจ้า  เกี่ยวแก่การทำหนังสือให้ฟังก็แล้วกัน


ปี 2550 หรือเมื่อประมาณสิบสามปีล่วงมาแล้ว
ข้าพเจ้าได้ทำหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งพิมพ์ในระบบออฟเซ็ตเป็นเล่มแรก
ด้วยความหวังว่า  จะส่งเข้าประกวดรางวัลซีไรต์และเข้ารอบกับเขาบ้างอะไรบ้าง
การทำหนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยอุปสรรคและความยากลำบาก
เพราะตอนนั้นข้าพเจ้ายังเรียนอยู่ปีคณะทันตแพทย์  จุฬาฯ 
และแทบไม่มีความรู้เกี่ยวกับการพิมพ์หนังสือเลย
โชคดีหน่อยที่เทคโนโลยีการพิมพ์ก้าวหน้าไปพอสมควรแล้ว
จึงสามารถทำหนังสือเป็นเล่มได้ด้วยตัวคนเดียว

แน่นอนว่าหนังสือเล่มนี้สอนอะไรข้าพเจ้าหลายอย่างมาก
จากความผิดพลาดมากมายที่เกิดขึ้น
เช่น  การออกแบบ  การจัดหน้า  การทำปกทำเนื้อใน  การทำงานส่งโรงพิมพ์ (สมัยนั้นยังต้องใส่แผ่นซีดีส่งให้กันอยู่)
และที่สำคัญที่อยากขยายความก็คือ  คำผิด
เพราะสำหรับข้าพเจ้าการทำหนังสือแล้วมีคำผิดอยู่ในหนังสือนี่มันเหมือนเป็นตราบาปชั่วชีวิตของคนทำหนังสือเลยทีเดียว
ทั้งที่ตรวจแล้วตรวจอีก  แม้กระทั่งให้น้องอ่านให้ฟังเพื่อที่จะได้ไม่หลงหูหลงตากับตัวอักษร
(โชคดีที่มันเป็นหนังสือกวีนิพนธ์  มันจึงไม่ต้องใช้เวลาในการอ่านมากนัก)
แต่กระนั้นเมื่อหนังสือพิมพ์เสร็จออกมาเป็นเล่ม
ก็ยังพบ  คำผิดบ้าง  วรรคผิดบ้าง  อยู่ถึง 5 จุด
ซึ่งแน่นอนว่าข้าพเจ้าทนไม่ได้ที่จะเห็นคำผิดในเล่ม
คิดว่าจะทำอย่างไรดี  ปล่อยให้มันไปไว้อย่างนี้ เพราะมันก็เป็นธรรมดา  หนังสือมันก็มีผิดมีพลาดบ้าง(ข้าพเจ้าเคยเห็นหนังสือกวีนิพนธ์  โดยเฉพาะจำพวกโคลง  ก็มีเว้นวรรคผิดอยู่ให้เห็นหรือจะแก้ไข
คิด แล้วก็  แก้ไขเสียดีกว่า  ไม่อย่างนั้นเราก็จะมานั่งเสียใจภายหลัง
จึงแก้ปัญหาด้วยการแปะสติกเกอร์ทับ
ซึ่งจากการสอบถามโรงพิมพ์  เขาบอกว่าสามารถทำให้ได้  แต่คนแปะก็คือ  แม่บ้าน
ซึ่งข้าพเจ้าชั่งใจแล้ว  มันต้องแปะบรรทัดให้ตรง  ตัดสติกเกอร์ให้สวยงาม 
ซึ่งข้าพเจ้าเคยเห็นที่เขาแปะ กัน งานประเภทนี้ถ้าให้แม่บ้านทำ
ก็คงได้ร้องไห้กันอีกรอบ  และถ้าแก้อีกก็คงไม่ทันกาล  เพราะเหลือเวลาอีกไม่กี่วันก็จะหมดเขตส่งประกวดแล้ว
ข้าพเจ้าแก้ปัญหาด้วยการปริ๊นท์สติกเกอร์เอง  ซึ่งก็ต้องตามหาพอสมควรเพราะกระดาษเป็นกระดาษถนอมสายตา
การหาสติกเกอร์สีเหลืองนวล ให้เข้ากับกระดาษนั้นนับว่ายากยิ่ง
ต้องปริ๊นท์ให้ตัวอักษรเท่ากัน  ต้องตัดกระดาษให้ได้บรรทัดที่พอดี
และที่สำคัญ  หนังสือมีทั้งหมด 1,000 เล่ม
แปลว่า  ต้องติดทั้งหมด  5,000 ครั้ง  ตัดกระดาษอีกกี่ครั้งนับไม่ถ้วน
ส่วนสถานที่ทำงาน  ไม่ใช่ที่บ้านหรือที่อยู่อาศัยที่เหมาะแก่การทำงานแต่อย่างใด  
เพราะข้าพเจ้าอาศัยอยู่หอพักนิสิต  หรือที่เรียกกันว่าหอใน  หนังสือทั้งหมดก็ให้เขาเอามาส่งที่ใต้หอจำปา  หรือหอเฟื่องฟ้า ในสมัยนั้น
(หอนี้ชื่อจะเปลี่ยนไปตามเพศของนิสิตที่เข้าไปอยู่  สมัยใดเป็นหอหญิงจะเรียกหอเฟื่องฟ้า  สมัยใดเป็นหอชายจะเรียกหอจำปา  และที่สมัยนั้นมีการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาก็เพราะว่าเขากำลังมีการสร้างหอใหม่กัน  นิสิตจึงต้องอพยพย้ายถิ่นกันบ่อย แม้แต่หอจำปี  ซึ่งเป็นหอชายล้วนมาตลอดก็เคยกั้นพื้นที่บางชั้นเพื่อทำเป็นหอหญิงด้วยเหมือนกัน)
หนังสือทั้งหลายนั้น  เขาห่อมาอย่างเรียบร้อยตึงเป๊ะ  ข้าพเจ้าต้องค่อย บรรจงแกะห่อ  เพราะต้องห่อคืน  เพื่อนำไปส่งสายส่งเอง
(ตามปกติโรงพิมพ์เมื่อพิมพ์งานเสร็จเขาจะส่งไปที่สายส่งให้เราโดยอัตโนมัติ  ซึ่งข้าพเจ้าก็คิดเอาสะดวกว่า  อย่างนี้เราก็ทำได้สบายโดยไม่ต้องมีพื้นที่เก็บสินค้าเป็นของตัวเอง
เพราะงานเสร็จเขาก็เอาไปเลย  ไม่ต้องมีโกดังให้ยุ่งยาก  อีกทั้งเป็นเล่มแรกกว่าเขาจะตีหนังสือคืนมาก็คงอีกนาน  จากนั้นค่อยว่ากัน  คิดง่าย แบบนี้)

การแปะสติกเกอร์หนังสือแต่ละเล่มนั้นไม่ง่ายนัก  
ประการแรก  ข้าพเจ้าไม่มีคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเอง
การทำหนังสือของข้าพเจ้านั้น  ต้องยืมคอมพ์เพื่อนบ้าง  ใช้ห้องคอมพ์หอพักบ้าง  แม้กระทั่งอาศัยร้านปริ๊นท์เอกสารบ้าง  
พอได้มาแล้วก็ต้องตัดก่อน  ด้วยคัตเตอร์  ไม้บรรทัด  และด้วยมือนี่เอง  แล้วก็ทยอยแปะเป็นหน้า ไป  ต้องวางแผนให้ดี  จะแปะอะไรก่อนหลัง
อันไหนไม่แปะอันไหนไปแล้ว  
มีน้องมาช่วยบ้าง  มีชาวหอบางคนเห็นเขาสนใจก็มาชะโงกดูบ้าง  บางคนก็มาเปิดอ่านในใจบ้าง  อ่านออกเสียงเป็นทำนองเสนาะบ้าง (เล่มนี้เป็นงานฉันทลักษณ์ทั้งหมด)
มีวิพากษ์วิจารณ์ติชมบ้าง
ข้าพเจ้านั่งทำอยู่สามวันสามคืนติดต่อกัน  ไม่ได้หลับได้นอน  มีแอบงีบเล็ก น้อย เท่านั้น
เวลาขึ้นไปอาบน้ำก็ฝากยามช่วยดูแล (ซึ่งคิดว่าก็คงไม่มีใครอยากมาขโมยหรอก  แค่กลัวหมาจะมากัดกันใส่แล้วมันเละเทะ 555)
ฝากคนซื้อข้าวมาให้กินบ้าง  เดินไปซื้อเองบ้าง  นั่งทำอยู่อย่างนั้น  จนกระทั่งเสร็จ

เสร็จแล้วสิ่งที่ต้องทำเบื้องต้นก็คือ  เอาหนังสือไปส่งที่โรงแรมโอเรียนเต็ล  
มันเป็นวันสุดท้ายที่เขาให้ส่งประกวดได้
พี่ธรรม ทัพบูรพา  ซึ่งเป็นพี่ที่ข้าพเจ้าเคารพนับถือ  และให้ข้าพเจ้ายืมชื่อสำนักพิมพ์  
ก็แนะนำว่า  เอาไปส่งเองเลย  เพราะส่งไปรษณีย์ไม่รู้จะถึงหรือเปล่า  เผื่อสูญหายรายทาง  อะไรก็เกิดขึ้นได้
ข้าพเจ้าก็เชื่อฟัง เพราะพี่เขาส่งงานเข้าประกวดปีนั้นด้วย  ซึ่งก็ว่า  พี่ก็เอาไปส่งเอง  
นับหนังสือตามจำนวนที่เขาต้องการ  เผื่อเหลือเผื่อขาดนิดหน่อย  หอบขึ้นแท็กซี่ไปที่โรงแรม  ซึ่งก็เป็นเวลาบ่ายมากแล้ว
นับเป็นครั้งแรกที่เอาหนังสือไปส่งประกวดรางวัลซีไรต์  ซึ่งมันก็ยิ่งใหญ่เหลือเกินในสายตาของเด็กหนุ่มคนหนึ่ง
ไปถึงก็งก เงิ่น บอกเขาว่า  เอาหนังสือมาส่งประกวดรางวัล  เขาก็พาไปสถานที่ลึกลับแห่งหนึ่ง  เป็นชั้นใต้ดิน  
ที่นั้นเป็นสถานที่เก็บหนังสือที่ส่งเข้ามาประกวดในปีนั้น
เขาก็ให้เขียนใบสมัคร  แล้วก็นั่งรอ
ข้าพเจ้าก็สอดส่ายสายตาดูว่า  มีเล่มไหนบ้างส่งเข้ามาประกวด  หนังสือที่ส่งเข้าประกวดมีเยอะมาก  หลายเล่มก็คุ้นชื่อคุ้นตา  หลายเล่มไม่เคยรู้จักเลย
ก็คงเป็นจำพวกพิมพ์เองเหมือนข้าพเจ้านี่แหละ  บางเล่มเราแค่ดูหน้าปกก็รู้ว่าพิมพ์เฉพาะกิจ  และเป็นการพิมพ์แบบออนดีมานด์
สมัยก่อนระบบพิมพ์ดิจิทัล  เป็นอะไรที่ยังไม่มีประสิทธิภาพมาก  แทบไม่ต่างจากซีรอกซ์  หน้าปกก็กระเดิดเถิดเทิงออกมา  ไม่สวยงามเลย (สมัยนี้ก็ยังเป็นอยู่บ้าง  แต่ดีขึ้นกว่าเดิมหน่อยซึ่งอันนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ข้าพเจ้าไม่อยากพิมพ์แบบนั้น  เพราะมันดูไม่เป็นหนังสือจริง   ไม่ดูเป็นมืออาชีพ  ไม่เหมือนหนังสือที่ขายกันตามร้านหนังสือ (ซึ่งเอาเข้าจริงหนังสือพิมพ์ออฟเซ็ตและแปะสติกเกอร์คำผิดของข้าพเจ้านี่แหละที่สุดแล้วกลายเป็นว่าดูกระจอกงอกง่อยอย่างที่สุด)
ส่งใบสมัครเสร็จอะไรเสร็จ  ก็หมดธุระเกี่ยวกับการประกวด
แต่ยังมีธุระสำคัญยิ่งรออยู่นั่นก็คือ  การเอาหนังสือไปส่งที่สายส่ง

ข้าพเจ้าก็คิดว่าจะเอาไปอย่างไรดี  หนังสือตั้งพันเล่ม  ลองคำนวณคร่าว แล้วคิดว่า
เอาวะ  ใส่แท็กซี่ไปก็น่าจะหมด
ก็เรียกแท็กซี่มา
เพื่อขนไปสายส่ง  แทกซี่ก็ใจดีเหมือนกัน  เพราะของตั้งเยอะขนาดนั้น  ยังยอมให้เราเอาใส่รถเขาได้  ไม่กลัวยางระเบิด 555
ขน อยู่หลายเที่ยว  เพราะมันต้องเดินไกล  จากใต้หอขนไปแท็กซี่  หนักก็หนัก
พอดีมีน้องรหัสเดินมาเห็นถามว่า  พี่ทำอะไร  บอกว่า  ขนหนังสือไปสายส่ง
น้องก็ใจดีมาก  ช่วยขน  ขนขึ้นรถแล้วก็ยังนั่งรถเป็นเพื่อนไปด้วยที่สายส่ง
ที่สำนักพิมพ์แม่โพสพ
อาจารย์ทองแถม  ซึ่งทำบริษัทกระจายหนังสือด้วยในขณะนั้น  ข้าพเจ้าก็ไม่เคยเห็นตัวจริง  ไม่เคยรู้จักมักคุ้น
แต่พี่ธรรมได้ฝากฝังเอาไว้ให้  ก็ต้อนรับขับสู้เป็นอย่างดีเหมือนคนเคยเห็นกันมาแต่ชาติก่อนหนหลัง
ก็รับหนังสือไว้และกระจายไปตามร้านหนังสือต่าง ในที่สุด

เรื่องก็ดูเหมือนจะจบลงแค่นี้อย่างสงบงดงาม
แต่...
มันไม่จบเท่านี้  เพราะ...
ข้าพเจ้าสมัยนั้นยังเป็นนิสิตจน ไร้เงินไร้ทอง
งานการที่ทำก็ไม่มี  มีเพียงแต่เขียนหนังสือขายบ้าง  เขียนประกวดบ้าง
ได้เงินมานิด หน่อย ก็ไม่มีเก็บมีกันอะไรเอาไว้
คิดเอาตามที่เขาว่า  โรงพิมพ์จะให้เครดิตเราเท่านั้นเดือนเท่านี้เดือน  ขายหนังสือได้ก็คงมีเงินส่งเขาบ้าง
แต่เอาเข้าจริงก็คือ  โรงพิมพ์เขาไม่ได้ให้เครดิตอะไรเราหรอก
เพราะเราไม่ได้ทำธุรกิจ  เป็นใครที่ไหนก็ไม่รู้  แค่พิมพ์หนังสือเฉพาะกิจกระจอก เล่มเดียวคนหนึ่ง  
หนังสือเสร็จเขาก็มาเก็บเงินถึงที่
โรงพิมพ์นี้จริง เขาพิมพ์ไม่แพง  พี่นิคมซึ่งเป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์นกฮูกในสมัยนั้น  เป็นคนแนะนำให้
ข้าพเจ้าไปสืบดูก็รู้ว่า  หนังสือดัง สำนักพิมพ์ดี หลายแห่งก็ใช้ที่นี่กัน
ราคาไม่แพง  แถมยังใจดีไว้ใจพิมพ์ให้เราก่อนโดยไม่เรียกเงินมัดจำอะไรเลย
แม้กระนั้นก็ดี  เมื่อถึงตอนจะจ่ายเงิน  พอไม่มีเงิน  ที่ว่าไม่แพง   มันก็แพงขึ้นมาอย่างมากหลายเหลือขนาด
เมื่อไม่รู้จะทำอย่างไร  อับจนเงินทอง  อับจนหนทาง  ข้าพเจ้าก็ใช้หนทางสุดท้าย
โทรหาที่บ้าน
ครอบครัวของข้าพเจ้านั้นก็ยากจนข้นแค้นหนักหนา  ลำพังจะหาเงินมาซื้ออาหารการกินก็ลำบากเหลือแสน
แต่ก็เป็นความหวังสุดท้ายของชีวิต  
คุยครั้งแรกไม่ได้เงิน
เพราะไม่มีใครเห็นด้วยที่ข้าพเจ้าลงทุนทำหนังสือ
ตระกูลของเราก็ทำไร่ไถนาค้าผักขายปลาเล็ก น้อย เรื่องหนังสือหนังหาไม่มีอยู่ในสายเลือด
แต่ที่สุดของที่สุด
เมื่อเข้าตาจน  ยายของข้าพเจ้าก็บอกว่า  เอาเถอะ  ไหน ก็ทำมาแล้ว  เขาก็มาไล่เอาเงินแล้ว
ไม่มีให้เขาก็ไม่ได้  จึงถอดแหวนทองคำวงเก่า ที่สวมนิ้วอยู่  ต่างหูเล็ก ที่มีอยู่  เอาไปขายร้านทอง
บวกกับเงินอีกนิดหน่อยที่เก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
รวบรวมทั้งหมดส่งมาให้ข้าพเจ้า
น้ำตามันไม่มีจะไหลแล้วตอนนั้น  เพราะมันไหลมามากมายตั้งแต่พบว่า  หนังสือมันมีคำผิดห้าแห่งตอนที่หนังสือพิมพ์เสร็จแล้ว
จริง ถ้าเทียบแล้วมันก็คงไม่มากมายนักหรอกเงินที่ว่า  ประมาณสามหมื่นบาท (อันนี้รวมแก้เพลทด้วย  เพราะอย่างที่เล่า
ก่อนคำผิดห้าแห่งนั้น  ก็แก้คำผิดกันมามากมาย  แก้แล้วแก้อีก  นึกว่าไม่มีผิดแล้วก็สั่งทำเพลท
ทีนี้พอต้องแก้เพลทมันต้องเสียเงินเพลทละ 600 บาท  ไม่แก้ก็ไม่ได้  แก้ช้าก็ไม่ได้เพราะไฟลนแล้ว  จะส่งหนังสือประกวดไม่ทัน
มันจะหมดเขตส่ง)  
ซึ่งแม้เงินจำนวนสามหมื่นบาทในทางกายภาพก็จริง  หากในความรู้สึกของข้าพเจ้าคนที่ไม่มีเงินมันก็ราวกับเงินแสนเงินล้านเลยทีเดียว ตอนนั้น

ผลสุดท้ายเป็นอย่างไร
หนังสือก็ไม่ได้เข้ารอบอะไรกับเขาเลย 5555 (ตอนนั้นมีแค่ประกาศรอบสุดท้ายแล้วก็ประกาศผลเลย  ไม่มีรอบ Longlist)
นอกจากนั้นหนังสือก็ขายไม่ได้  (หนังสือกวีนิพนธ์มันก็ขายไม่ได้อยู่แล้ว  ซึ่งข้าพเจ้า ขณะนั้นนอกจากรู้ว่าต้องพิมพ์หนังสือเป็นเล่ม  
เอาไปให้สายส่งส่งเพื่อวางขายตามร้านหนังสือแล้ว
ก็ไม่รู้กลไก  ไม่รู้อะไรใด เกี่ยวกับการตลาด  หรือเกี่ยวกับอะไรอื่นอีกเลย  หนังสือธุรกิจหนังสืออะไรเทือกนี้ไม่เคยอ่านเลย  อ่านแต่วรรณกรรมกับหนังสือเรียน  
เรียกง่าย ว่า  มืดแปดด้าน)
กว่าข้าพเจ้าจะหาเงินหาทองไปคืนยายได้ก็ปาไปตอนเข้ารับราชการทำงานแล้วโน่น
ส่วนหนังสือที่เหลือจากการขายมายาวนานหลายปีดีดักข้าพเจ้าเพิ่งไปรับคืนมาเมื่อปีก่อน ซึ่งก็เอามาขายบ้าง  แจกบ้าง  ตอนนี้เหลืออยู่ไม่ถึงสิบเล่ม
ส่วนเรื่องเงินจากหนังสือเล่มนี้นั้นไม่ต้องพูด  555

นึกถึงเรื่องนี้ทีไรก็ให้คิดคำนึงว่า  เออ  เรานี่ก็บ้าเหลือเกิน  ทำอะไรลงไปก็ไม่ทราบ  
ถ้าจะให้ทำแบบนั้นอีกก็คงไม่ทำแล้ว  ใช้ชีวิตสุ่มเสี่ยงและไร้ประสิทธิภาพเหลือเกิน
แต่นั่นแหละ  มันก็ไม่ได้สูญเปล่า
หากมันคือประสบการณ์และรากฐานอันใหญ่หลวงที่ทำให้ข้าพเจ้าได้เดินทางมาจนถึงวันนี้
หยิบหนังสือขึ้นมาสูดดมกลิ่นทีไร  ภาพตัวเองนั่งหน้าเมือกแปะสติกเกอร์ที่ใต้หอ  ก็ลอยมาทุกที
ภาพกระบวนการต่าง ที่ได้ทำ  ผู้คน  บรรยากาศ  ก็ฉายชัดขึ้นมาเป็นภาพ   เหมือนว่ามันเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวานนี้เอง

จริง รายละเอียดเรื่องนี้และการทำหนังสือมีเยอะกว่านี้มาก  อันนี้เป็นแต่ย่อ  
จะรออ่านเมื่อเขียนเป็นเล่มอีกทีก็ได้ครับ

สำหรับคืนนี้  ราตรีสวัสดิ์

ธัชชัย  ธัญญาวัลย
พฤษภาคม 2563

ไม่มีความคิดเห็น: