วันนี้ไปเดินที่ซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่ง
เห็นว่ามีมันฝรั่งนำเข้าจากอเมริกา
ด้วยความสงสัย
มันฝรั่งเหมือนกัน ทำไมไม่เหมือนกัน
คือ ทำไมถึงต้องนำเข้ามา
ทั้งที่ประเทศของเราก็มีมันฝรั่งยี่ห้อนี้ที่ผลิตในประเทศตัวเองอยู่แล้ว
ข้อมูลเบื้องต้น
มันฝรั่งนำเข้านี้นำเข้ามาจากอเมริกา
โดยบริษัทแห่งหนึ่ง นำเข้ามาหลายรสทีเดียว
สนนราคาอยู่ที่ 115 บาท 184.2 g
ส่วนของไทยนั้น ผลิตโดยบริษัทแห่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นคนละบริษัทกับบริษัทที่นำเข้า
สนนราคาอยู่ที่ 50 บาท 158 g
แม้ว่าจะราคาและปริมาณต่างกัน แต่ขนาดของซองนั้นใกล้เคียงกัน
นั่นหมายความว่าปริมาณอากาศในซองก็ย่อมแตกต่างเช่นเดียวกัน 555
อะไรอีกที่ต่างกัน
ของอเมริกา
หนึ่งหน่วยบริโภค คือ 1/7 ซอง (28 g)
คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 150 กิโลแคลอรี
ไขมันทั้งหมด 9 กรัม
โปรตีน 2 กรัม
คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 15 กรัม
โซเดียม 200 มิลลิกรัม
ของไทย
หนึ่งหน่วยบริโภค คือ 1/5 ซอง (30 g)
คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 160 กิโลแคลอรี
ไขมันทั้งหมด 10 กรัม
โปรตีน 2 กรัม
คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 16 กรัม
โซเดียม 75 มิลลิกรัม
หลังจากแกะซองลองชิมดูแล้วพบว่า
ของอเมริกานั้น แผ่นบางกว่า กรอบกว่า เคี้ยวง่ายกว่า (คือพอมันบางกว่าก็กรอบกว่า และเคี้ยวง่ายกว่านั่นเอง)
หอมกว่า (ความรู้สึกส่วนตัว) และที่สำคัญก็คือ เค็มกว่า
ของไทยไม่น่าจะต้องบรรยายเพราะคิดว่าเราก็เคยลิ้มรสกันมาอยู่แล้วนะครับ
คำถาม
ปริมาณโซเดียมที่เยอะกว่า และเค็มกว่า ส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนอย่างไร
มีผลสำรวจเมื่อปี 2551-2552 ว่า คนไทยบริโภคโซเดียมเกินความจำเป็นของร่างกาย
คือ ประมาณ 3,000-3,400 มิลลิกรัม
ในขณะที่ร่างกายของมนุษย์เราต้องการโซเดียมอย่างมากก็ 2,000 มิลลิกรัม ไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัม
หรือประมาณหนึ่งช้อนชา
ในวันหนึ่ง ๆ เราได้โซเดียมจากอาหารแทบทุกชนิด
ข้อมูลล่าสุดที่หาได้จากเพจของ
สสส.
(23 เมษายน 2019) บอกว่า คนไทยกินโซเดียมเฉลี่ยถึง 4,352 มิลลิกรัม/วันแม่เจ้า!
กินมากกว่าที่ร่างกายต้องการถึง 2 เท่า
ประเทศอื่นกินโซเดียมมากเหมือนเราหรือเปล่า
อเมริกา ประเทศซึ่งเราไปนำเข้ามันฝรั่งมา
พบว่า เด็กมากกว่า 90% บริโภคโซเดียมเกินมาตรฐาน
ซึ่งก็น่าจะแน่นอนอยู่แล้ว เพราะแค่มันฝรั่งนิดเดียว มีโซเดียมอยู่ถึง 200 กรัม
(และถ้าเข้าใจไม่ผิด โซเดียมที่อยู่ในตารางคิดจากหนึ่งหน่วยบริโภค
ซึ่งหนึ่งหน่วยบริโภคของมันฝรั่งอเมริกา คือ 1/7 ซอง
แปลว่ามันฝรั่งหนึ่งถุงมีหน่วยบริโภค 7 หน่วย
ดังนั้น ถ้ากินมันฝรั่งหมดถุง จะได้โซเดียมทั้งหมดถึง 1,400 มิลลิกรัม
และสำหรับเทียบข้อมูล: ขนมปัง 1 แผ่น มีโซเดียม 120-150 กรัม
ไข่ไก่หนึ่งฟอง มีโซเดียม 110-120 กรัม นะครับ)
การกินโซเดียมมากเกินไปส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพของเรา
โรคที่จะตามมาหาเราถ้าเรากินโซเดียมมาก ๆ
หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ
ถ้าเรากินเค็มมาก ๆ เราจะเป็นโรคต่อไปนี้ได้ เช่น
โรคไต ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
ซึ่งโรคเหล่านี้ไม่ใช่โรคที่เป็นแล้วตายทันที และไม่ใช่โรคที่เป็นแล้วรักษาหายขาด
ต้องกินยา ต้องรักษากันไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะตายจากกันไหม
นอกจากเสียเวลาแล้ว ยังเปลืองทรัพยากรอย่างมากอีกด้วย
ทั้งในแง่ของทรัพยากรส่วนบุคคลและทรัพยากรของชาติ
นั่นเป็นสาเหตุว่า ทำไมเราควรต้องซีเรียสกับเรื่องของอาหารการกิน
และควรมีการควบคุมปริมาณของสารต่าง ๆ ในอาหารให้เหมาะสม
เพราะหากเราปล่อยให้ใครก็ได้ผลิตอะไรก็ได้ออกมา
เราก็จะได้กินอะไรก็ตามที่ส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว
เพราะเราต้องไม่ลืมว่า
อาหารที่เรากินในชีวิตประจำวันนั้น
หากมีรสชาติอย่างไร นานวันเข้าเราจะชินกับรสแบบนั้น
แล้วเราจะมีความต้องการรสนั้นมากขึ้นไปอีก
ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าเราเคยกินมันฝรั่งที่ผลิตในประเทศ แรก ๆ มันก็อาจจะเค็ม
ต่อมากินไปจนชิน มันก็ไม่เค็มแล้ว เพราะชิน
เราก็จะรู้สึกไม่อร่อย (รสเค็มทำให้รู้สึกอร่อย)
พอเราได้กินของนำเข้า ซึ่งมีปริมาณโซเดียมมากกว่า (แพงกว่าเกินสองเท่าด้วย)
เราก็จะรู้สึกว่ามันอร่อยขึ้นได้
เพราะมันเค็มกว่าเดิม
ซึ่งแน่นอนแหละว่า
เรายังอยากบริโภคสิ่งเหล่านี้อยู่
และอยากมีสุขภาพที่ดีด้วย
เราต้องทำอย่างไร
สิ่งที่เราควรปฏิบัติ
ก็คือโปรดทำตามคำแนะนำด้านหลังซองอย่างเคร่งครัด
“บริโภคแต่น้อย และออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ”
นะครับ
Aditya K
07.02.2021
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น