วันนี้มาเร็ว
555
ซึ่งต้องออกตัวอีกเช่นเดิมว่า
เรื่องราวต่อไปนี้ ชัปปุยส์ เอ้ย! สปอยล์!!! นะครัช
( อิอิ แหม เล่นมุกทันสมัย )
ว่าด้วยเรื่องราวของ ทสึคุรุ กันต่อ
ในความเป็นวรรณกรรมญี่ปุ่นนั้น
ดูเหมือนว่า จะหนีไม่พ้นความเป็น "โรคจิต"
คือ ไม่ตัวละครตัวใดก็ตัวหนึ่ง
ที่จะต้องมีอาการแปลกประหลาด
หรือมีสิ่งประหลาด ๆ ยึดเหนี่ยวจิตใจ
อย่างเช่น ตัวละครเอกฝ่ายชาย ในเรื่อง ทะเลสาบ
ของ บานานา ก็มีเครื่องปิ้งโมจิ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว
ประมาณว่า พี่แกต้องกอดเครื่องบ้า ๆ นี่แนบอกนอน
ยิ่งมีเรื่องชอกช้ำระกำใจจะยิ่งกอดแน่นเข้าไปอีก
อะไรประมาณนี้
ไม่ใช่แต่วรรณกรรมผู้ใหญ่เท่านั้น
ถ้าเราสังเกตดี ๆ
แม้กระทั่งวรรณกรรมเยาวชน
ก็หนีไม่พ้นอะไรทำนองนี้
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า
เด็กหญิงน่ารัก ๆ อย่าง โต๊ะโตะจัง นั้น
ไม่ใช่เด็กผู้หญิงปกติ อย่างที่ลูกชาวบ้านร้านตลาดเขาเป็นกัน
แม้จะไม่ถือว่าเป็นอะไรมาก
แต่ก็ต้องยอมรับว่า
โต๊ะโตะจังผู้น่ารัก
ไม่ใช่มนุษย์ที่อยู่ในกราฟช่วง normal แน่นอน
เรื่องนี้ดูเหมือนจะเป็น "วัฒนธรรมร่วม" ของวรรณกรรมญี่ปุ่น
เหมือนกับวัฒนธรรมร่วมของละครน้ำเน่าไทย
ที่ต้องมีการแย่งผัวแย่งเมียกันนั่นเอง
คือ ทุกเรื่อง มันจะต้องมีอะไรอย่างว่า
นิด ๆ น้อย ๆ หน่อย ๆ หรือจัดเต็ม ก็ว่ากันไป
เรียกง่าย ๆ คือ
ขอให้มันได้มี
ความเป็น ทสึคุรุ นั้น
จะว่าปกติ ก็ไม่ปกตินัก
ออกจะเป็นคน ประหลาดด้วยซ้ำ
ข้าพเจ้าคงไม่วินิจฉัยว่า
เป็นความลักลั่น หรือ ผิดพลาด ของมูราคามิ
ที่ดันเอาบุคลิกซ้ำซากของตัวละคร
( เดิม ๆ ที่ถูกสร้างไว้ตั้งแต่สมัยอดีต )
มาใส่เข้าไปในกาลเวลาร่วมสมัย
ซึ่งมันทำให้แลดูไม่เข้ารูปเข้ารอย
หรือไม่สมจริงอย่างยิ่ง
แม้ว่าในความเป็นจริง
ตัวละครของเขาจะชอบทำอะไรที่ไม่สมจริงอยู่แล้ว
หากในเรื่องนี้
ความไม่สมจริง อาจเป็นความผิดพลาดของมูราคามิมากกว่า
เช่น
ในกรณีที่ ทสึคุรุ ไม่ใช้ "เทคโนโลยี"
ในการตามหาเพื่อน ๆ ที่ตัดขาดความสัมพันธ์กันไปเมื่อสิบหกปีที่แล้ว
เป็นเรื่องที่เรายากจะเชื่อ
แม้จะมีข้อแก้ต่างว่า
"ใช้เฉพาะเรื่องงาน"
ก็ตามที
"…แรกสุด ฉันจะลองสืบค้นดูคร่าว ๆ ว่า ตอนนี้พวกเขาทำอะไร อยู่ที่ไหน"
"ทำยังไง"
สาละส่ายหน้าอย่างเหนื่อยหน่าย "คุณจบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีใช่ไหมล่ะ ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตหรือ? พวกกูเกิ้ลหรือเฟซบุ๊กน่ะ ไม่เคยได้ยินหรือไง?"
"เรื่องงานละก็ แน่นอน ใช้อยู่บ่อย ๆ ทั้งกูเกิลทั้งเฟซบุ๊ก รู้จักอยู่แล้วละ แต่เรื่องส่วนตัวแทบไม่ใช้เลย ผมไม่ค่อยสนใจเครื่องมือพวกนั้น"
"นะ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฉันเถอะ เรื่องอย่างนี้ฉันเก่งทีเดียว" สาละพูด
ข้อนี้ ถ้าเราเป็นมนุษย์ยุคปัจจุบัน เราจะพบว่า
ทสึคุรุนั้น ไม่รู้จัก เฟซบุ๊ก เอาเสียเลย
แม้เขาจะอ้างว่า "ใช้เรื่องงาน" ก็ตาม
และ มูราคามิ คงจะห่างหายจากญี่ปุ่นยาวนาน จนลืมไปว่า
ที่ญี่ปุ่นเขาฮิตใช้ ไลน์ กัน
( แต่ในเรื่องไม่มี "ไลน์" ปรากฏอยู่เลย
ทั้งที่เหตุการณ์ในเรื่อง
มันคือ ญี่ปุ่น ในปัจจุบัน
แต่อ่านไปอย่างไร ๆ
ก็ดูเหมือนกับว่า
มันคือญี่ปุ่นในอดีต
อาจจะซักเมื่อสมัยสิบหรือสิบห้าปีที่แล้วมากกว่า )
อาจจะซักเมื่อสมัยสิบหรือสิบห้าปีที่แล้วมากกว่า )
การบอกว่า "ผมไม่ค่อยสนใจเครื่องมือพวกนั้น"
เป็นสิ่งที่อาจจะใช้อ้างได้
แต่ในโลกของความเป็นจริงของศตวรรษที่ ๒๑
ในยุคโซเซียลเชี่ยวกรากและรุนแรง
เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า
คำพูดที่ว่ามา เป็นคำพูดของคนที่ไม่รู้เรื่องเหล่านี้มากเพียงพอ
ถ้าพูดให้ชัด ๆ ขึ้นกว่านี้ก็คือ
ตัวละครของ มูราคามิ นั้น หลงยุค อย่างมากมายเลยทีเดียว
( รวมทั้ง มูราคามิ เอง ก็แก่แล้วด้วย )
แต่อย่างไรก็ตาม
หากเราจะเชื่อตามที่ตัวละครพูด
ว่า "ผมไม่ค่อยสนใจเครื่องมือพวกนั้น"
ก็เป็นไปได้
ความจริงเขาควรพูดว่า "ผมไม่เล่นเฟซ" น่าจะลงตัวกว่า
เพราะคิดว่า มีคนจำนวนไม่น้อยในปัจจุบัน
ที่ไม่ใช้เฟซบุ๊ก หรือโซเซียลมีเดียอื่น ๆ
การติดต่อสื่อสารระหว่าง ทสึคุรุ และ สาละ นั้น
เป็นไปแบบโบราณอย่างยิ่งทีเดียวสำหรับคนที่รู้จักกัน
คือ ใช้อีเมล ( และโทรศัพท์ )
ในยุคปัจจุบัน
อีเมล น่าจะเป็นทางเลือก
สำหรับการติดต่อที่ค่อนข้างเป็นทางการมากกว่า
แต่ก็อย่างว่า มนุษย์โบราณอย่าง ทสึคุรุ
ที่ยังฟังเพลงจาก เครื่องเล่นแผ่นเสียง อยู่
ก็คงยากที่ใช้ติดต่อกับคนอื่นโดย ไลน์ หรือ อื่น ๆ
หากเราไม่ถือว่า นี่คือ ความผิดพลาด ของ มูราคามิ
เราก็ต้องถือว่า เป็นความผิดปกติของตัวละคร
หรือเป็นการโกหก ของ ทสึคุรุ ที่บอกว่า ตัวเองใช้เทคโนโลยี
แต่ความจริง เขาแทบจะไม่รู้จักมันเลย
ซึ่งโดยส่วนตัว ข้าพเจ้าชอบแบบหลังมากกว่า
ข้าพเจ้าไม่ค่อยชอบนัก
เวลานักวิจารณ์พูดทำนองว่า
นี่เป็นความผิดพลาดหรืออ่อนด้อยของนักเขียน
เพราะเรื่องบางเรื่อง
มันก็เป็นความผิด หรือเป็นความรู้สึกนึกคิดของตัวละครต่างหาก
ไม่ใช่เรื่องของนักเขียน
( นักเขียนอาจจะจงใจให้ตัวละครพูดข้อมูลผิด ๆ
เพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยของตัวละครก็ได้ )
หรือแม้มันจะเป็นความผิดพลาดของนักเขียนจริง ๆ
เราก็ควรจะยกไว้
และพูดว่า
นั่นเป็นเรื่องของ ตัวละคร จะดีกว่า
เช่น บางครั้งที่คนเขียนเขียนผิดพลาดในแง่ข้อเท็จจริง
เราก็สามารถบอกได้ว่า
น่าจะเป็นตัวละครมากกว่า ที่รู้เรื่องอย่างนั้นมาผิด ๆ
หรือพูดผิด หรือโง่ในเรื่องที่ว่า
หรือถ้าจะให้ดี
ก็บอกว่า
มันเป็นความจริง-ความลวงในวรรณกรรมไปเสียเลย
5555
อาจจะมีคนอยากฟัง
"เลอ มาล ดู เปอี"
ว่ามันโรคจิตขนาดไหน
( "เลอ มาล ดู เปอี แปลว่า คิดถึงบ้าน
หรือ จิตใจที่หม่นมัว - ตามคำบอกเล่าของไฮดะ
อยู่ในเพลงชุด 'ปีแสวงบุญปีแรก' : สวิตเซอร์แลนด์ ครับ"
( "เลอ มาล ดู เปอี แปลว่า คิดถึงบ้าน
หรือ จิตใจที่หม่นมัว - ตามคำบอกเล่าของไฮดะ
"เลอ มาล ดู เปอี ของฟรานซ์ ลิซต์
อยู่ในเพลงชุด 'ปีแสวงบุญปีแรก' : สวิตเซอร์แลนด์ ครับ"
"เลอ มาล ดู เปอี หรือ?"
"Le Mal du Pays ภาษาฝรั่งเศสครับ
โดยทั่วไปใช้ในความหมายว่า
คิดถึงบ้าน หรือไม่ก็จิตใจหม่นหมอง ..." -- หน้า 56 )
ที่เอามาให้ฟังนี้
ก็น่าจะตรงกับในเรื่องทุกประการ
โปรดสดับ
เรื่อง ชายไร้สีฯ ยังมีประเด็นอีกมาก
( ที่ข้าพเจ้าอยากจะพูด )
แต่อย่างไรก็ตาม
ตอนนี้ข้าพเจ้าก็ขี้เกียจอีกแล้ว
โปรดติดตามตอนต่อไป
หุหุ
โย่ว
Arty K
21 12 2557