ซื้อ E-BOOK

Thumbnail Seller Link
การสำเร็จความโง่ด้วยตนเอง
ธัชชัย ธัญญาวัลย
www.mebmarket.com
คุณจะสำรวจลึกลงไปในสิ่งต่าง ๆ ผ่านตัวหนังสือ ผ่านถ้อยคำ ที่กรองประกอบขึ้นเป็นหนังสือเล่มนี้ “การสำเร็จความโง่ด้วยตนเอง” กวีนิพนธ์เชิ...
Get it now

ความล้มเหลวของระบบสาธารณสุขจีน Failing Health : China's public medical system is broken.

ความล้มเหลวของระบบสาธารณสุขจีน
Failing Health : China's public medical system is broken.

TIME, vol.184, No.11 | 2014 [Sep 22, 2014]





อ่านบทความดังกล่าว ในนิตยสารไทม์ ฉบับล่าสุด เกี่ยวกับระบบสาธารณสุขจีนแล้วหดหู่
เผลอคิดไปว่า เราค่อนข้างโชคดีทีเดียว ที่ระบบสาธารณสุขของเรายังดูเหมือนว่า "ดีกว่า"(?) ของจีนอยู่บ้าง
แต่ความจริงแล้ว มันอาจจะไม่ได้ดีกว่าของจีนมากมายอะไรนัก หรืออาจจะพอ ๆ กัน
แค่ผู้คนในประเทศเราไม่ทำอะไรที่มันก๋ากั่นเหมือนคนจีนก็ได้
บทความนี้เริ่มต้นว่า
"In the early hours of april 14, 2012, Zheng Yanliang cut off his right leg.
Racked by pain but unable to pay for and amputation, the corn farmer bit down on a back scratcher and severed his limb with a hacksaw and a fruit knife. It took 20 minutes to grind through the bone."

อ่าน ๆ ไปนี่นึกว่ากำลังเสพวรรณกรรมเซอร์เรียลอยู่ เฮ้ย! มันเลวร้ายถึงขนาดนั้นเลยเหรอฟระ
(สังเกตคำว่า rack คำนี้โดยนัยหมายถึงเครื่องทรมานนักโทษสมัยโบราณ เป็นเครื่องเอาไว้สำหรับดึงแขนขาออกไปเรื่อย ๆ ว่างั้นเหอะ)
เรื่องราวคร่าว ๆ ก็คือว่าคุณ Zheng เนี่ย (อายุ 46 ปี) แกได้รับการวินิจฉัยจากโรงพยาบาลในท้องถิ่นว่า เป็นโรค "arterial thrombosis" ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายส่วนล่างไม่พอ และจำเป็นต้องตัดขาทิ้ง
Zheng ก็เลยเดินทางไปที่ "public hospital" ในกรุงปักกิ่ง โรงพยาบาลบอกว่า มีค่าใช้จ่ายประมาณ 300,000 หยวน หรือประมาณ 48,000 เหรียญ ซึ่งอย่างดีที่สุด Zheng สามารถทำรายได้แค่เดือนละ 400 เหรียญ ( คิดเป็นเงินไทยก็ราว ๆ 12,400 บาท -ความจริงก็เยอะนะ สำหรับชาวไร่ข้าวโพด ถ้าเทียบกับชาวไร่ชาวนาของเมืองไทย หึหึ)
ซึ่งแน่นอนว่าจะให้ตายยังไงในชาตินี้ มันก็ไม่พอจะเป็นค่าตัดขา ก็เลยกลับบ้าน เพื่อมานอนรอความตาย
แต่แล้ว... หนึ่งเดือนผ่านไป ตะแกก็เกิดไอเดียกระฉูดขึ้นมา เลยตัดขาตัวเองด้วยเลื่อยตัดเหล็ก (hacksaw)
…he say, the pain was so searing that he was happy to see his leg gone.
นิตยสารไทม์ว่าไว้เช่นนั้น
ถ้าใครจินตนาการถึงเลื่อยตัดเหล็กไม่ออก กรุณากูเกิ้ลรูปภาพดู เลื่อยตัดเหล็กนี้ข้าพเจ้าคุ้นเคยกับมันมากตอนเป็นเด็ก เพราะชอบทำงานฝีมือ คิดภาพผู้ชายกำลังเลื่อยขาตัวเองแล้วสยอง มันไม่ใช่เวลาแค่สั้น ๆ
...ตั้ง 20 นาที!!!
ระบบการแพทย์สาธารณะของจีนนั้น มีคนให้นิยามว่า long waits, shoddy service, high costs "รอนาน บริการห่วย และ(เสือก)เก็บเงินแพง" (เอ๊ะ! ทำไมฟังแล้วมันคุ้น ๆ สองข้อแรก-ฮา)
เท่านี้ยังมิหนำ ถ้าคุณคิดจะไปคลินิกเอกชน ก็ไม่ต่างกัน
“Many clinics are dirty and crowed. Patients sometimes wait hours to see a
frazzled, underpaid doctor for a minute or two. To make up for their awful pay, some doctors accept bribes, often in the form of cash-stuffed envelopes. There's little legal protection for either side when things go wrong. Violent attacks on doctors have become common.”

ที่ฟังแล้วเจ็บปวดก็คือ “some doctors accept bribes” นี่เอง
"หมอบางคนรับสินบน" ที่เมืองไทยมีหรือเปล่า?
อย่างที่เคยเล่า มีคนไข้อย่างน้อยหนึ่งรายสาธยายให้ข้าพเจ้าฟังว่า "ถ้าอยากได้ห้องผ่าตัดเร็ว ๆ ต้องจ่ายเงินให้หมอที่ทำเคส" ซึ่งด้วยความไม่แน่ใจข้าพเจ้าจึงย้ำว่า "จริงเหรอ" เขาบอกว่า "จริง" “โรงพยาบาลรัฐเนี่ยนะ" “ใช่ โรงพยาบาลรัฐ" เขาบอกชื่อโรงพยาบาลและชื่อหมอมาด้วย
แต่ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ใส่ใจ



[ภาพเฮีย Zheng ฮีโร่ของเรา]

นอกจากในมุมของคนไข้แล้ว มุมของหมอในระบบโรงพยาบาลรัฐของจีน ก็ไม่ใช่ว่าจะดีนัก
หมอมีรายได้น้อย ทำงานหนัก และเสี่ยงต่อการถูกทำร้าย
“To meet demand, Liu sees 10 to 15 patients before 8 a.m. He works seven days a week. “In China, there just aren't enough good hospitals,” he says.
Nor are there enough good doctors. And even though they are in short supply, doctors make a pittance. Most work for public hospitals and are paid like civil servants, usually to the tune of about $495 to $825 a month. They make more when they order tests or prescribe drugs. A 2011 survey by the Chinese Medical Doctor Association found 96% felt underpaid, and 80% did not want their kids to follow their career path. Declared the British medical journal Lancet in May 2012: “China's doctors are in crisis””
จะเห็นว่า มันไม่ใช่เฉพาะคนไข้เท่านั้นที่เป็นปัญหา หมอก็เป็นปัญหาด้วย ตกใจกับคำว่า pittance เพราะโดยนัยมันหมายถึง เงินบริจาคเล็ก ๆ น้อย ๆ หรืออะไรเทือกนั้น เหมือนเศษเงิน ว่างั้นเถอะ
รายได้หมอจีนถ้าคิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 15,000 – 25,000 บาท ถ้าคิดเทียบเงินเดือนข้าราชการก็พอกัน แต่ไม่รู้ที่จีนจะมีค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ค่าอยู่เวร ค่าเบี้ยกันดาร ค่าไม่ทำเวชฯ หรืออะไรต่าง ๆ อีกหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ ถ้าส่งแล็บและจ่ายยาก็คือ ได้เงินเพิ่ม ความจริงในเมืองไทยก็ได้ยินมาเหมือนกันว่า ส่งแล็บได้เงินเพิ่ม หมอไทยบางคนเลยส่งแล็บกันเป็นว่าเล่น (จุดนี้โปรดตรวจสอบข้อมูล หุหุ)
ส่วนกรณีที่พ่อแม่ไม่อยากให้ลูกเป็นหมอนั้น เดี๋ยวนี้กระแสในเมืองไทยก็มาแรงเหมือนกัน และไม่แน่ว่า อนาคตเราอาจได้ยินประโยคที่ว่า "Thai's doctors are in crisis” (หรือว่าที่ผ่าน ๆ มาก็มีประโยคนี้เกิดขึ้นแล้ว ข้าพเจ้าไม่แน่ใจ เพราะไม่ได้ติดตามข่าว)
แต่ที่แน่ ๆ ยุคสมัยไหนก็มักได้ยินว่า ขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์อยู่ร่ำไป และนั่นหมายถึงในวงการทันตแพทย์ด้วย
(อ้อ ลืมบอกไป Lui นี่แกเป็นหัวหน้าแผนก pediatric cardiology ที่ Beijing's Anzhen Hospital เชียวนะ)

นอกจากค่าตอบแทนน้อยแล้ว หมอ ๆ ในจีนยังมีชีวิตอยู่ด้วยความหวาดวิตกอยู่ตลอดเวลาว่า คนไข้จะเข้ามาทำร้าย อยากจะนำเสนอภาพคลินิกเอกชนของจีนสักเล็กน้อย ว่ามันโกโรโกโสขนาดไหน
“The door to Dr. Qin's clinic is wide open. It is winter in Changsha, the humid capital of central Hunan province, and it is about 10 C. But there is no heat. Mao, a Hunan native, decreed that only half of China—cities north of ht Huai River—needed heating, so the air inside is about the same as on the street. Qin, who wants his given name withheld for fear of local authorities, wears a wool jacket. His wife, the nurse, wears her white smock over a knee-length down coat. Their snow-suited daughter plays on the floor with a neighborhood dog.
คุณหมอ Qin นี่แกเป็น family physician ถ้าเรียกตามแบบอเมริกา พูดง่าย ๆ แบบบ้านเราก็คือ หมอ GP ที่จบปริญญา M.D. เป็นหมอตรวจโรคทั่วไปนั่นเอง
ฟังสภาพคลินิกแกแล้วหดหู่ โดยเฉพาะประโยคสุดท้ายที่ว่า ลูกสาวของพวกเขากำลังเล่นอยู่กับหมาเพื่อนบ้านแถว ๆ นั้นบนพื้นคลินิก คือ ลืมเรื่องระบบปลอดเชื้อหรืออะไรทำนองนี้ไปได้เลย
รายได้ต่อคนของหมอ Qin อยู่ที่ประมาณ 10$ (รวมค่าใบสั่งยา) ซึ่งไทม์บอกว่า ...it certainly will not make you rich.
แน่นอน ถ้าเทียบกับคลินิกหมอเมืองไทยก็น่าจะราว ๆ นี้ หรืออาจถูกกว่านี้ด้วยซ้ำ (แต่ทำไมหมอไทยรวยจัง อิอิ)
สิ่งที่หมอ Qin เป็นกังวลไม่ใช่เรื่องเงิน แต่เป็นเรื่องความปลอดภัย แกเล่าว่าสามปีก่อนแกสั่งจ่ายยาคนไข้ไปแล้วคนไข้แพ้ยา เท่านั้นแหละ คนไข้จึงมาเรียกร้องค่าชดเชย พอแกบอกว่าไม่ให้ก็เป็นเรื่องสิครับ คนไข้พาฝูงชนยกพวกมาปิดล้อมคลินิกแก "What choice did I have? I was scared they'd kill me” แกว่า
ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นหรือพูดกันเล่น ๆ มันเคยมีคนไข้ทำร้ายหมอถึงตายมาแล้ว และสถิติก็เพิ่มขึ้นมากเรื่อย ๆ
“China Hospital Management Association reported that from 2002 to 2012, attacks on Chinese medical staff jumped an average of almost 23% each year. By the end of that span, the reported per-hospital average was 27 attacks a year.”
บางโรงพยาบาลถึงกับให้บุคลากรฝึกกังฟูเพื่อรับมือพวกนี้โดยเฉพาะ จากกรณีที่ หมอคนหนึ่งถูกคนไข้เอามีดแทงตายอย่างไม่รู้อิโหน่อิเหน่
“In one high-profile case, Dr. Wang Yunjie, a 46-year-old ear, nose, throat specialist, was stabbed to death on the job. The killer, a disgruntled patient, entered the hospital looking for his doctor but could not find him. He charged at Wang instead. After Wang's death the government vowed to beef up security, promising a security guard per 20 beds. One hospital stared training workers in kung fu.”

นอกจากนี้ยังมีข่าวนางพยาบาลอายุ 20 ถูกฟาดด้วยร่มจนล้มพับลงกับพื้น ซึ่งจากข่าวดังกล่าว "ชาวเน็ต" (netizen) คนหนึ่งถึงขนาดแสดงเจตนารมณ์ในโลกไซเบอร์ว่า "ถ้าลูกของฉันมันคิดริยำจะเสือกเลือกเรียนสายแพทย์นะ ฉันจะทุบขามันให้หักไปเลย"
มีประเด็นเกี่ยวกับ GDP และเศรษฐกิจบ้าบออีกเล็กน้อย ซึ่งข้าพเจ้าไม่ขอเล่า (เพราะขี้เกียจและไม่สนุก) เอาเป็นว่า หลังจากคุณ Zheng ของเราตัดขาตัวเองแล้ว แกก็ตกเป็นข่าวครึกโครม ได้รับการยกย่องให้เป็น "วีรบุรุษ" กันเลยทีเดียว (มันก็น่าอยู่หรอก) และจากนั้นแกก็ได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องในโรงพยาบาล และที่สำคัญ "ฟรี" มีคนถามแกว่า พอใจกับการรักษานี้หรือเปล่า ตะแกก็พูดแค่ว่า "I'm just a farmer,” he said. “I don't know about such things.”
นั่นแหละ.... แน่หละ
ชาวไร่ชาวนาก็คือชาวไร่ชาวนา ไม่ว่าจะอยู่ประเทศห่าที่ไหนก็ตาม
หึหึ

จบจ้ะ หาอ่านต้นฉบับได้ตาม Ref. ข้างต้น เพราะที่เล่ามานี้ก็เล่าผิดเล่าถูกไปเรื่อย ใส่สีตีไข่ตามสไตล์ ถ้ามีอะไรคลาดเคลื่อนจากต้นฉบับ ก็ไม่ขอยอมรับว่าเป็นความผิดใด ๆ ของข้าพเจ้าจากการกระทำนี้ทั้งสิ้น ฮ่า ๆ ๆ ๆ ๆ

ธัชชัย ธัญญาวัลย
17 กันยายน 2557

ป.ล.  แถมท้ายตามสไตล์จิกกัด

เอาเข้าจริงบทความนี้  ก็อาจเขียนเพื่อข่มจีนกลาย ๆ  ตามสไตล์ไอ้กัน
เพราะตอนนี้ไอ้กันไม่มีอะไรสู้จีนได้แล้ว
เหลือก็แต่อารยะที่ยืม/ต่อยอดมาจากยุโรป  ดังเช่นระบบสาธารณสุขนี้เป็นต้น

ถ้าอ่านบทความฉบับเต็มจะมีกล่าวพาดพิงเปรียบเปรยเล็ก ๆ
เกี่ยวกับโอบามาแคร์  ก่อนที่จะเหยียด ๆ จีนว่า
พวกมึงน่ะก้าวข้าม barefoot doctor ของท่านประธานเหมาหรือยังเอ่ย
อะไรทำนองนี้

ซึ่ง ณ จุด ๆ นี้  ก็ไม่รู้สินะ
เป็นความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า
555

(เพราะอย่างกรณีรัสเซีย  ไอ้กันก็ใช้ ไทม์ นี่แหละ  มาเป็นเครื่องมือ
เสพข่าว/บทความเดี๋ยวนี้ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง
ถ้าให้ดี  ก็คิดเสียว่า  มันคือเรื่องสั้น  หรือนิยาย  ก็แล้วกัน)

หุหุ

จบจริง ๆ แล้วจ้ะ