"...การขายตัวในเรื่องนี้
มีความนัยมากกว่าแค่การขายตัวอย่างตรงไปตรงมา
แต่มันหมายถึงการขายศักดิ์ศรีของตัวเอง
ใช้เซ็กซ์และสิ่งต่าง ๆ
เป็นใบเบิกสู่ความมั่งคั่งและสถานภาพทางสังคม
จนมองข้ามสิ่งที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง เช่น ความรัก
ไม่ว่าระหว่างหญิงชายหรือภายในครอบครัว
ไม่เพียงเท่านั้น
ธัชชัย ธัญญาวัลย
ยังตั้งคำถามต่อระบบการศึกษา
ที่สอนให้แต่ละคนคิดถึงแต่ความสุขส่วนตน
ปรนเปรอให้แก่ตัวเองและคนในครอบครัว
โดยไม่สนใจผู้อื่น
ซ้ำยังมองคนที่ไม่ได้เรียนในระบบอย่างดูถูกดูแคลน
“...หน้าที่ของพวกเราก็คือปรับตัว
คืนสู่ความเป็นมนุษย์แบบดั้งเดิม
เราจะไปแลกเปลี่ยนความรู้กับเด็ก ๆ
และคนของที่นั่น
ไม่ใช่ไปสอนหนังสือเด็กหรือนำสิ่งที่พวกเราคิดว่าเจริญไปมอบให้เขาอย่างใครหลายคนเข้าใจกัน...”
(หน้า
163)
การศึกษาเพื่อป้อนสินค้าตามความต้องการของตลาด
ทำให้หนุ่มสาวกลายเป็นเพียงผลผลิตที่ไร้จิตสำนึก
คิดถึงแต่ตัวเอง ทำสิ่งต่าง ๆ
อย่างไร้ความยางอาย
เพื่อความสุขสบายอันฉาบฉวย
นี่คือนวนิยายซึ่งวิพากษ์ปรัชญาการศึกษาในปัจจุบัน
ที่ไม่ได้สร้างคนให้เป็นคน
แต่ทำให้เป็นสิ่งต่าง ๆ
นานาตามแต่ที่ตลาดแรงงานต้องการ..."
- จรูญพร ปรปักษ์ประลัย
จุดประกายวรรณกรรม, หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ประจำวันอาทิตย์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗