ซื้อ E-BOOK

Thumbnail Seller Link
การสำเร็จความโง่ด้วยตนเอง
ธัชชัย ธัญญาวัลย
www.mebmarket.com
คุณจะสำรวจลึกลงไปในสิ่งต่าง ๆ ผ่านตัวหนังสือ ผ่านถ้อยคำ ที่กรองประกอบขึ้นเป็นหนังสือเล่มนี้ “การสำเร็จความโง่ด้วยตนเอง” กวีนิพนธ์เชิ...
Get it now

อยากฟันให้ดี เย้ย! ไม่ใช่ อยากให้ฟันดี : ยกที่ ๑๐ เด็กร้องไห้เป็นเรื่องธรรมชาติ


ขออภัยทุกท่าน

ที่ทิ้งเรื่องนี้ไปเนิ่นนาน

ความจริงต้นฉบับนั้น

เขียนไว้ไกลไปถึงยกที่สิบห้าแล้ว

แต่ไม่ค่อยมีเวลาเอาเรื่องนี้มาลง

ช่วงนี้ว่างหน่อย

จึงได้มีโอกาสปล่อยของ

(อีกแล้วครับท่าน)

อิอิ

อ่านบทก่อนหน้าได้โดย คลิกที่นี่ (คลิกเสร็จเลื่อนลงไปดูข้างล่างนะจ๊ะเธอ)





ยกที่ ๑๐ เด็กร้องไห้เป็นเรื่องธรรมชาติ

เผลอไม่ทันไร
ต้องพาลูกไปหาหมอฟันจริง ๆ แล้วหรือนี่
ขอให้โชคดีครับ
ถ้าลูกคุณกล้าหาญ
ก็แล้วกันไป
แต่ถ้าร้องไห้ขึ้นมาเมื่อไหร่
ซวยสุดคือ
หมอฟัน!

แต่ก็นั่นแหละ
ยังไง ๆ มันก็ต้องทำ
เรียกว่า เป็นเรื่องจำเป็น
ผู้ปกครองบางคน(ส่วนมากด้วย)
เคยถาม
เป็นแค่ฟันน้ำนมต้องอุดด้วยเหรอคะ
ชิชะ!
ไม่เคยดูโฆษณาล่ะซี้
เอาเป็นว่า
ถ้าไม่ลืม
เดี๋ยวเราจะพูดเรื่องความสำคัญของฟันน้ำนมกันยกหน้า
เพราะยกนี้เราจะพูดเรื่อง
เด็กร้องไห้

ก็อย่างที่บอกล่ะครับ
การร้องไห้ของด็กเป็นเรื่องธรรมชาติ
แต่เป็นธรรมชาติที่เราไม่อยากจะพบเจอกันซักเท่าไหร่
ยิ่งเด็กที่มาร้องไห้ที่คลินิกทำฟันนี่
เคยฟังมั้ยครับ
ว่ามันสนั่นหวั่นไหวแสบแก้วหูแก้วใจกันขนาดไหน

การร้องไห้ของเด็กมีหลายแบบ
แต่เราคงไม่เอามาพูดให้ฟังทั้งหมด
เพราะนี่ไม่ใช่ตำราเรียน (อิอิ)
นะ!

เด็กบางคนร้องไห้เพราะกลัว
ร้องเพราะเจ็บ
หรืออาจจะร้องเพราะต้องการเรียกร้องความสนใจ
ชักดิ้นชักงออยู่บนพื้นก็ได้
ผู้ปกครองหรือพี่เลี้ยงจะรู้นิสัยของเด็กดีที่สุด
และหมอฟันก็ย่อมรู้ดีว่า
เด็กร้องอย่างนี้หมายถึงอะไร
เพราะในตำราก็จำแนกแยกแยะการร้องไห้แต่ละรูปแบบเอาไว้แล้ว

เด็กร้องไห้บางครั้งไม่ได้หมายความว่า
เขาไม่อยากให้ความร่วมมือในการทำฟันนะครับ
แต่บางครั้ง
ด้วยความเป็นเด็ก
มันก็ห้ามไม่ได้

เด็กบางคนร้องไห้ตั้งแต่เดินเข้ามาคลินิก
แต่พอเจอหน้าหมอ
ได้พูดคุยกัน
ได้ทำความรู้จัก
ชี้ให้ดูนั่นนู่นนี่
แหม
สบายใจ หยุดร้อง ทำฟันได้
แต่ที่สำคัญ
พ่อแม่ผู้ปกครองอย่ารอให้ลูกปวดฟันแล้วค่อยมาหาหมอ
เพราะนั่นจะทำให้การจัดการลำบาก
และยิ่งจัดการลำบาก
ก็จะยิ่งเป็นผลเสียต่อเด็ก
รวมถึงอนาคตของเด็กด้วย


Dr. Arty


"หมายเหตุ- ไม่รับรองว่าเนื้อหานี้จะถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน ไม่ควรอ่านติดต่อกันเกินวันละสองรอบ  ควรซื้อหนังสือเล่มอื่น ๆ ของผู้เขียนมาอ่านจะดีกว่า การอ่านบทความนี้มากกว่าสามรอบไม่ทำให้ท่านเป็นคนคบไม่ได้แต่อย่างใด เด็กและสตรีมีครรภ์ควรอ่านพอประมาณ การอ่านเสียงดังจะทำให้ผู้อื่นได้ยินเสียงของท่านได้"

ไม่มีความคิดเห็น: