มาแล้วครับวันนี้
เช้าตรู่เลยทีเดียว
ความจริงว่าจะอัพเดทตั้งแต่เมื่อวานนี้
แต่เนื่องมาจาก
กลับมาก็เหนื่อย
จึงนอนหลับไปเสียก่อน
ช่วงนี้งานยุ่งมาก
ไหนจะต้องสอนพิเศษ ไหนจะต้องทำงานประจำ
และไหนจะต้องทำงานเขียนอีก
สองงานแรกที่กล่าวถึงนั้นก็ต้องใช้พละกำลังและเวลามากมายอยู่แล้ว
กลับมาถึงที่พัก ก็เลยหมดแรง
ได้แค่อีดิทต้นฉบับเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ได้สร้างสรรค์งานใหม่ขึ้นมาเลย
ทั้งที่ความเป็นจริง เราควรจะได้เขียนเรื่องใหม่ ๆ มากมายตามความคิดที่ผุดพรายขึ้นมาอย่างไม่หยุดหย่อน ในสภาวการณ์ปัจจุบัน
เข้าเรื่องเลยก็แล้วกัน
ทำไมเด็กไทย หรือ คนไทย ส่วนใหญ่ไม่อ่านหนังสือ
อันนี้เป็นความคิดเห็นเล่น ๆ
ไม่รับรองว่าผิดถูกหรืออย่างใดประการใด
เชื่อก็เชื่อไม่เชื่อก็ช่าง
สาเหตุที่ต้องพูดอย่างนี้เพราะว่า
มีคนจำนวนหนึ่ง เชื่อง่าย พูดอะไรก็เชื่อ แล้วมาโวยวายเอาทีหลังว่า
"มาทำให้ฉันเชื่ออย่างนี้ทำไม ฉันคิดว่ามันไม่ถูก"
บางคนก็บอกว่า ผมเอาตัวเองเป็นใหญ่ "ใคร ๆ ก็ต้องฟังมึงพูดอย่างนั้นหรือ"
ผมไม่เคยพูดสักครั้งว่า "ใคร ๆ ก็ต้องฟังกูพูด"
คือใครจะฟังไม่ฟังก็เรื่องของคนนั้น
ผมไม่เกี่ยว
ผมมีหน้าที่แค่พูดสิ่งที่คิดออกไป
เพราะฉะนั้น
อย่าตีความให้วุ่นวายมาก
รำคาญ
พูดถึงเรื่องหนังสือต่อ ( วันนี้มันจะจบมั้ย )
สาเหตุที่คนไทยไม่อ่านหนังสือ ( หรืออ่านหนังสือกันน้อย )
๑. คนไทยไม่มีวัฒนธรรมในการอ่านหนังสือ ตั้งแต่ปู่ย่าตาทวด โบร่ำโบราณ
สังคมไทยเป็นสังคม "มุขปาฐะ" มากแต่ไหน ๆ คือ ถนัดในการพูด การเล่า การร้อง การเล่น
มากกว่าจะเป็น "การอ่าน" การอ่านการเขียนจำกัดเฉพาะผู้รู้หนังสือเท่านั้น ประชาชนทั่วไป หรือที่เรียกว่า "ไพร่" นั้น อ่านหนังสือกันน้อย
อีกประการหนึ่ง คือ ชนชั้นมีวิชานั้น "หวงวิชา" การถ่ายทอดเป็นตำรับตำราจึงเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น
เราก็ถ่ายทอดกัน "ปากต่อปาก"
จึงเกิดสังคมที่มีลักษณะ "เชื่อข่าวลือ" มากกว่าจะเป็นสังคมของการ "วิจัย" หรือวินิจฉัย
นอกจากนี้ข้อจำกัดทางเทคโนโลยีการผลิตหนังสือก็ทำให้หนังสือ "มีน้อย" หรือแทบจะไม่มีเลย ไม่เชื่อไปนับดู "สมุดไทย" ในหอสมุดหรือพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ อ้างว่าตัวเองเจริญมาหลายร้อยปี แต่มีหนังสือยู่ไม่กี่สิบเล่ม
นอกจากนี้สมัยโบราณ มีการรบทัพจับศึกกันบ่อย ทั้งมีการ "เข้าเดือนออกเดือน" และการทำมาหาเลี้ยงชีพ อีกสารพัด ทำให้ไม่มีเวลาในการ "อ่านหนังสือ"
สรุปก็คือ สภาพแวดล้อม วัฒนธรรม และสังคม ในสมัยโบราณนั้น ไม่เอื้อและไม่ส่งเสริม ให้เกิดการอ่านแม้แต่น้อย ยังผลให้เกิดเป็นกระแสถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ทำให้ลูกหลานกลายเป็นคน "ไม่อ่านหนังสือ" จวบจนปัจจุบัน
วิธีแก้ปัญหาข้อนี้คือทำอย่างไร
เราต้อง "สร้าง" วัฒนธรรมการอ่าน ขึ้นมาเสียก่อน มันอาจจะต้องใช้เวลา อาจจะสิบปี ยี่สิบปี สามสิบปี ร้อยปี หรือห้าร้อยปี เราบอกไม่ได้ แต่เราต้องสร้าง ให้มันเป็นวัฒนธรรมการอ่านที่เข้มแข็ง มีนิสัยรักการอ่านกันจริง ๆ จัง ๆ ไม่ใช่แค่ชั่วครั้งชั่วคราวหรือ ชั่ววูบชั่ววาบ เพื่อเลียแข้งเลียขา "นโยบาย"
ทั้งนี้มันต้องควบคู่ไปกับ การผลิตหนังสือ และการรณรงค์ต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการอ่านขึ้นมา
ซึ่งในปัจจุบันก็นับว่า เดินกันมาถูกทาง เหลือแต่ ผู้ร่วมเดินทางเท่านั้น ว่าจะเดินกันไปถึงไหนหรือไม่
๒. สิ่งอื่นน่าสนใจกว่าการอ่านหนังสือ นี่แน่นอนที่สุด ในสังคมบ้าเห่อ และไม่มีรากหรือจุดยืนเป็นของตัวเองอย่างมั่นคง เช่นสังคมไทยนี้ อะไรมาใหม่ก็เห่อตามเขาไปหมด โดยเฉพาะในปัจจุบัน การสื่อสารทะลุทะลวงอะไรต่อมิอะไรได้อย่างสบาย สิ่งเย้ายวนใจต่าง ๆ เยอะมาก ซึ่งแน่นอนว่า ทั้งกลยุทธ์การทำตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ สื่ออื่น ๆ เอาไปกินเรียบ เหลือแต่หนังสือ ที่เป็นง่อยอยู่
และสิ่งทั้งหลายอย่างอื่นก็ เสพง่าย เข้าถึงง่าย เข้าใจง่าย แตกต่างกันสิ้นเชิงกับ หนังสือ ที่ เสพยาก เข้าถึงยาก และ เข้าใจยาก จะอ่านหนังสือทีต้องไปซื้อมาจากร้านหนังสือ หรือห้องสมุด ไม่เหมือนดูทีวี กดปั๊บ มาทันใจ แต่สื่ออินเตอร์เน็ตเดี๋ยวนี้ทำให้หนังสือเข้าถึงประชาชนได้ง่ายขึ้น ทั้งอีบุค อีเบย์ (เกี่ยวมั้ย...อันนี้ไม่เกี่ยว ) อะไรต่าง ๆ แต่นั่นแหละ มันก็ยังแพ้ "คลิป" อยู่ดี แล้วใครจะมาสนใจอ่านหนังสือกันล่ะทีนี้
๓. เศรษฐกิจ อันนี้สำคัญ ถ้าปากท้องมันไม่อิ่ม แล้วมันจะอยากทำอย่างอื่นมั้ย ยากจนข้นแค้น ข้าวสารจะกรอกหม้อยังไม่มี แล้วจะมีเงินที่ไหนไปซื้อหนังสือ หรือจะมีเวลาที่ไหนไปอ่านหนังสือ
ปัญหานี้แก้ง่ายนิดเดียว
แจกเงินคนละสองพันให้ไปซื้อหนังสือโลด (ฮา)
๔. ชาติที่แล้วไม่เคยอ่านหนังสือ หรือไม่ชอบอ่าน หรืออ่านมาน้อย ทำให้ชาตินี้เกิดมาไม่มีสัญญาสั่งสมมาในเรื่องของการอ่าน อาจจะด้วยเหตุว่า ชาติที่แล้วเกิดเป็นไพร่ เป็นทาส เป็นชนชั้นสำราญ การงานไม่ทำเที่ยวระยำหยำฉ่า อาไรเทือกนี้ ทำให้จิตนั้นไม่มี การอ่าน สั่งสมในสันดานหรือในตัวจิต ชาตินี้เกิดมา ก็เลยไม่คุ้นชินกับการอ่าน ก็เลยไม่อ่าน
การแก้ปัญหาข้อนี้ คงไม่แนะนำให้ไปเกิดใหม่ แต่แนะนำ สร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นจะดีกว่า
จะได้เป็นนิสัยสันดาน (ที่ดี) สืบต่อไปในอนาคตกาลเทอญ สาธุ
อ้าว
พูดไปพูดมาชักจะเลอะเทอะ
เอวังแต่เท่านี้เถอะพี่น้อง
555
ธัชชัย ธัญญาวัลย
๒๑/๑๐/๒๕๕๒
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น