"คนที่มีภาพลักษณ์ดีมาก
ๆ บางครั้ง
ไม่น่าไว้วางใจยิ่งกว่าคนทั่วไปเสียอีก"
เดือนวาด
พิมวนา จากเรื่องสั้น
"เจ้าภาพจงเจริญ"
ข้าพเจ้าชอบงานเขียนของเดือนวาด
ตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย
จากผลงานเรื่องแรกที่อ่าน
"ช่างสำราญ"
มันกลายเป็นหนังสือที่ข้าพเจ้าซื้อให้กับใครหลาย
ๆ คน
เพราะเป็นความประทับใจ
เดือนวาดเขียนหนังสือสนุก
แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับชื่อ
"เดือนวาด"
เป็นชื่อที่ข้าพเจ้าชอบมาก
มันมีความเป็นบุคลาธิษฐานอยู่ในตัว
และด้วยเหตุนี้
ข้าพเจ้าจึงอยากมีนามปากกาที่เป็นบุคลาธิษฐานเช่นนี้บ้าง
แท้แล้วสมัยก่อน
ข้าพเจ้าเคยใช้ชื่อว่า
"ตะวันฉาย
แสงอรุณ"
เป็นชื่อที่คิดไว้ตั้งแต่อายุสิบสามปี
และเป็นจริงเป็นจังอย่างยิ่งจนถึงขนาดอยากไปเปลี่ยนชื่อนามสกุลเป็นอย่างนี้เสีย
แต่ถูกห้ามไว้ก่อน
ที่จำได้เพราะข้าพเจ้าเขียนบันทึกไว้ในไดอารี่ชัดเจนเมื่อครั้งกระนั้น
เป็นชื่อนามสกุลที่เมื่อรวมกันแล้วสื่อความหมายได้ดี
แต่ยังห่างชั้นอยู่
(ก็จะเอาอะไรมากกับเด็กชายอายุสิบสามปี)
เรื่องเอ็กซ์คลูซีฟ
มากเรื่องหนึ่งที่ข้าพเจ้าไม่ยังเคยบอกใครเลย
นามปากกา
"ทิวฟ้า ทัดตะวัน"
เป็นนามที่ข้าพเจ้าตั้งเอง
ด้วยแรงบันดาลใจจากนามปากกา
"เดือนวาด พิมวนา"
ซึ่งข้าพเจ้ามารู้เอาภายหลังว่า
นาม "เดือนวาด"
นี้
กวีใหญ่
อย่าง "ประกาย
ปรัชญา" เป็นคนตั้งให้
อืม...ถึงว่า
พูดถึงเรื่องนามปากกาแล้ว
สมัยหนึ่ง
มีเพื่อนที่ชมรมวรรณศิลป์
จุฬาฯ
ใช้นามปากกาว่า
"คนหล่อแปดทิศ"
"สุชาติ
สวัสดิ์ศรี" เคยแซวว่า
มันแปลว่าอะไรวะ
คนหล่อแปดทิศ
ถ้าชื่อดี
ๆ มันตั้งยากนัก
เขาตั้งให้ก็ได้
(ฮา)
ข้าพเจ้าคาดเดาว่า
คงมีแรงบันดาลใจมาจาก
"ผู้ชนะสิบทิศ"
หรืออะไรเทือกนี้
แต่ก็ไม่เคยถามกับเจ้าตัวเสียที
ข้าพเจ้าอาจเข้าใจผิด
"ทุกข์หฤหรรษ์"
คือชื่อหนังสือรวมเรื่องสั้น
ที่มีเรื่อง
"เจ้าภาพจงเจริญ"
อยู่
ดู ๆ
แต่ละชื่อเรื่อง ค่อนข้างจะเชยไปแล้ว
สำหรับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
และอาจจะดึงความสนใจจากผู้อ่านสมัยใหม่ได้ยาก
หากแต่ละชื่อก็สื่อความนัยของแต่ละเรื่องไว้อย่างชัดเจน
คือเรียกง่าย
ๆ ว่า
เป็นการตั้งชื่อเรื่องที่ดีมาก
ซึ่งถ้าเราไม่คิดอะไรมาก
ก็ถือว่าเป็นการบันทึกยุคสมัยไว้โสตหนึ่ง
ให้คนรุ่นหลังเห็นว่า
สมัยก่อนนั้น
ชื่ออย่างนี้มันทันสมัยนะเว้ย
แต่ละเรื่องในเรื่องสั้นชุดนี้
อ่านสนุก
เรื่องที่แปลกแตกต่างในทั้งหมดของเล่ม
ดูเหมือนจะเป็น
"คุณครูคนแรกของ
ดร.ฮาเวล"
ซึ่งเขียนด้วยสำนวนแบบเรื่องแปล
และเขียนด้วยบรรยากาศของความเป็นต่างประเทศ
ถ้าไม่บอกก็นึกว่าแปลมาเสียอีก
"เดือนวาด" มีความพิเศษอย่างหนึ่ง
คือเวลาเธอเล่าเรื่องอะไร
เรื่องนั้น
ๆ จะเป็นเรื่องนั้น ๆ
แทบไม่มีตัวตนของผู้แต่งเข้าไปแต้มเติมเลย
หากแม้จะมีอยู่บ้างในบางครั้งของการบรรยายความรู้สึก
แต่เราก็แทบจะจับไม่ได้ว่า
เป็นเรื่องของคนแต่ง
คือเรื่องเล่ามันเป็นเรื่องเล่าอย่างแท้จริง
ยืนอยู่ด้วยความเป็นเรื่องเล่าแท้จริง
เราจะไม่รู้สึกถึงความเคอะเขิน
หรือความปรุงแต่งของผู้เขียนแม้แต่น้อย
เรียกง่าย
ๆ ว่า
ไม่มีความดัดจริตอยู่ในงานเขียน
"ง่ายงาม"
เป็นคำชื่นชมงานเขียน
"ช่างสำราญ"
ของเดือนวาด
เมื่อครั้งได้รางวัลซีไรต์
ครูคนแรกของ
ดร.ฮาเวล ไม่ใช่ครูธรรมดา
ที่สอนอ่านเขียน
ก ไก่ ข ไข่
แต่เป็นครูเรื่องอย่างว่า
หุหุ
มีหลายเรื่องที่น่ากล่าวถึงในรวมเรื่องสั้นเล่มนี้
แต่ข้าพเจ้าไม่กล่าว
อยากให้ท่านผู้อ่านไปสัมผัสด้วยตัวเอง
โดยส่วนตัวข้าพเจ้าชอบที่เดือนวาด
เขียนเรื่องรัก
ๆ ใคร่ ๆ
มากกว่าเรื่องแนวอุดมการณ์
หรือเชิงแนวคิด
หรือเชิงนามธรรมอะไรเสียอีก
อย่างไรก็ตาม
เรื่องอย่างที่กล่าวถึงแนวหลังนี้
ไม่ใช่เดือนวาดทำได้ไม่ดี
แต่ทำได้ดีมาก
"ณ เทศกาล"
ถ้าไม่บอก
ข้าพเจ้าคงคิดว่า
ตัวเองกำลังอ่านเรื่องสั้นของนักเขียนรางวัลโนเบลอยู่แน่
ๆ
อาร์ตี้
ด้วยรักสนิท
๒๑ พฤษภาคม
๒๕๕๖
ขอบคุณภาพจาก http://www.thaispecial.com/bookimages/9749748503/sample.jpg
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น