ซื้อ E-BOOK

Thumbnail Seller Link
การสำเร็จความโง่ด้วยตนเอง
ธัชชัย ธัญญาวัลย
www.mebmarket.com
คุณจะสำรวจลึกลงไปในสิ่งต่าง ๆ ผ่านตัวหนังสือ ผ่านถ้อยคำ ที่กรองประกอบขึ้นเป็นหนังสือเล่มนี้ “การสำเร็จความโง่ด้วยตนเอง” กวีนิพนธ์เชิ...
Get it now

ความวิบัติแห่งภาษาไทยในปัจจุบันสมัย

ปัจจุบันสมัย เป็นอย่างไรก็ไม่รู้ ภาษาไทยรู้สึกจะแปลก ๆ ไป

ด้วยเหตุหนึ่งก็คือ การใช้ภาษาโดยไม่คำนึงถึงความสำคัญของความหมายที่แท้จริงของถ้อยคำ

เช่นคำว่า ทาน

คำนี้ แปลว่า การให้

แต่ปัจจุบันนี้ ถ้าพูดว่า ไปทานข้าว จะแปลว่า ไปกินข้าว

ถ้าเอาตามความหมายจริง ๆ ต้องแปลว่า ไปให้ข้าว

ก็เข้าใจว่า ทาน ย่อมาจาก รับประทาน

ด้วยความอยากเป็นผู้ดีตีนแดง

ไม่อยากใช้คำว่า กิน ซึ่งดูเหมือนจะเป็นภาษาชั้นเลว

ก็เลยพูดว่า ทาน

บังเกิดความผิดเพี้ยนทางความหมายไป

เรื่องนี้สำคัญอย่างไร

สำคัญตรงที่ว่ามันเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางภาษา

หากเรามีพจนานุกรม นิยามของคำว่า ทาน ก็คือ ให้

แต่เราใช้ในความหมายว่า กิน

ชนรุ่นหลังอีก 500 ปี หรือ 1,000 ปี ได้อ่านประโยคนี้เข้า

"จะไปไหน"

"ไปทานข้าว"

ชนรุ่นหลังเหล่านั้นย่อมแปลไปว่า ไปให้ข้าว

หรือหากชนรุ่นหลังนั้นฉลาดหน่อย หลักฐานทางประวัติศาสตร์ครบบริบูรณ์

ก็จะแปลได้สองความหมายว่า

ไปให้ข้าว หรือ ไปกินข้าว ก็ได้

ซึ่งจะทำให้เกิดความงุนงงสับสนต่อนักอักษรศาสตร์รุ่นหลังมาก

ดังเช่นที่เราประสบอยู่ในปัจจุบันกับความหมายของคำบางคำของโบราณ

อีกประการหนึ่งที่อยากกล่าวถึงคือ การใช้ภาษาเขียนผิด ๆ แม้แต่คำง่าย ๆ

เช่น คำว่า รสชาติ มักเขียนผิดเป็น รสชาด

หรือ อาเจียน มักเขียนผิดเป็น อาเจียร

และอีกมากมายเหลือกล่าว

อย่าว่าแต่ชาวบ้านร้านตลาดหรือเด็ก ๆ นักเรียน

แม้นิสิตนักศึกษาหรือครูอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยก็ไม่ใคร่ฉลาดในเรื่องนี้กันเท่าไรนัก

พจนานุกรมคงมีไว้ประดับตู้หนังสือในห้องสมุดหรือประดับฝาบ้านให้โก้หรูเท่านั้นกระมัง

สังเวชใจนัก
ทิวฟ้า ทัดตะวัน
26/06/2550

ไม่มีความคิดเห็น: